Chonburi Sponsored

ผลสอบลูกเรือประมงตกเรือ-อุบัติเหตุ ยืนยันไม่มีการทารุณกรรม

Chonburi Sponsored
Chonburi Sponsored

เช้านี้ที่หมอชิต – พบแล้ว หนึ่งในลูกเรือประมงที่แจ้งสูญหายระหว่างการทำประมง เจ้าตัวเผยตกเรือเพราะประมาท ไม่มีการทารุณกรรมระหว่างการทำประมง

พลตำรวจโท สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นสะพานปลาวราสินธิ์ ตำบลแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี พร้อมกับกลุ่มเอ็นจีโอ และนักสิทธิมนุษยชน เพื่อสอบสวน นายออง ซอ วิน ลูกเรือประมงเรือ เก่งเจริญชัย 1 ซึ่งถูกแจ้งว่าตกน้ำสูญหาย ระหว่างการทำประมงในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ที่ผ่านมา โดยล่าสุดพบตัวแล้ว ซึ่งเจ้าตัวได้ไปสมัครงานเป็นลูกเรือของเรืออีกลำ

จากการสอบถาม นายออง ซอ วิน ยืนยันว่าสาเหตุที่ตกเรือไม่ใช่การถูกทำร้ายร่างกาย หรือการทารุณกรรมระหว่างการทำประมง แต่เป็นเพราะอุบัติเหตุและความประมาท เนื่องจากไปทำธุระท้ายเรือ จนทำให้ตกน้ำ แต่เคราะห์ดีมีเรือที่อยู่ใกล้กันสามารถช่วยเหลือมาได้

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า เป็นเครื่องยืนยันว่าการทำการประมงในประเทศไทยปัจจุบันไม่ได้มีการทำผิดเงื่อนไข หรือทารุณกรรมแรงงานเกิดขึ้นอีก หลังมีทีมสหวิชาชีพลงตรวจสอบอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ จากการตรวจสอบฐานข้อมูลพบว่า ปี 63-64 มีลูกเรือประมงแจ้งตกน้ำ 231 คน ในจำนวนนี้ 54 คน เสียชีวิตจากการตกน้ำเพราะอุบัติเหตุ ส่วนอีก 53 คน ยังมีชีวิต โดยมีเรือลำอื่นช่วยไว้ได้ ขณะเดียวกันยังมีผู้สูญหายอีก 3 คน ซึ่งเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นการสูญหายจากขั้นตอนการลงทะเบียน ที่เกิดข้อผิดพลาด หลังจากมีการติดตามสอบสวนตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางแล้ว 

นอกจากนี้ยังพบว่าในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมีการปลอมแปลงเอกสารจัดทำบัตรประจำตัวแรงงานประมงในเรือ หรือที่เรียกว่า ซีบุ๊ก ทำให้เรือประมงมากกว่า 60 ลำ ไม่กล้าออกทำประมงทางทะเล เนื่องจากถือเป็นความผิดที่มีค่าปรับสูงสุด 400,000 บาท

จากการสอบสวนพบว่า ลูกจ้างของคานเรือ หรือลูกจ้างอู่ต่อเรือแห่งหนึ่งเป็นผู้รับจ้างดำเนินการต่อใบอนุญาต แต่กลับปลอมแปลงลายเซ็นของกรมการจัดหางาน เพื่อไปยื่นเอกสารให้กรมประมงต่อใบอนุญาต ซึ่งจากนี้จะต้องสอบสวนขยายผลว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปมีส่วนรู้เห็นหรือไม่ ส่วนใบอนุญาตที่พบความผิดปกติหากต้นฉบับเป็นการทำที่ถูกต้องตามกฏหมายจะมีการเปลี่ยนเล่มใหม่ให้ เพื่อให้เรือประมงสามารถออกไปทำประมงได้ตามเงื่อนไข

Chonburi Sponsored
อำเภอ สัตหีบ

ช่วงประมาณรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 สัตหีบเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเล ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา หาของป่า และประมง การคมนาคมจะใช้ทางน้ำโดยเรือเมล์หรือเรือใบ ส่วนทางบกมีแต่ทางเกวียน ถนนไปชลบุรียังไม่มี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังเป็นป่ารกทึบ การเดินทางระหว่างเมืองจึงใช้เรือเป็นหลัก ในหมู่บ้านสัตหีบ มีผู้ที่ชาวบ้านนับหน้าถือตามากอยู่คนหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่า "ยายแจง" แกมีฐานะดีมี ที่ดิน เรือ สวน ไร่นามากมาย ตลาดสัตหีบ หนองตะเคียนและโรงเรียนสิงห์สมุทรรวมถึงบริเวณเขาแหลมเทียนอันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือสัตหีบในปัจจุบันก็เคยเป็นของแก ต่อมา เมื่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงฝึกภาคทะเลกับกองเรือและทรงพักที่อ่าวสัตหีบ ทรงเห็นว่าอ่าวสัตหีบเหมาะเป็นที่ตั้งหน่วยเรือ เพราะมีเกาะใหญ่น้อยช่วยกำบังคลื่นลม พระองค์จึงได้บอกถึงพระประสงค์ที่จะใช้บริเวณเขาแหลมเทียนเป็นที่ตั้งหน่วยทหารเรือ ยายแจงก็ยินดีที่จะถวายให้